1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)
สุรางค์ โคว้ตระกูล ( 2545 ) กล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019 ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ รุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ คือ
1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง
2) ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนองไปตามธรรมชาติ
3) รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4) รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือ การเรียนรู้จากการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5) เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม
6) เพสตาลอสซี เชื่อว่า การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7) ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5
8) ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
1) มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง
2) ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนองไปตามธรรมชาติ
3) รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4) รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือ การเรียนรู้จากการปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือ หรือจากคำพูดบรรยาย
5) เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม
6) เพสตาลอสซี เชื่อว่า การใช้ของจริงเป็นสื่อการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7) ฟรอเบล เชื่อว่า ควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3-5
8) ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
กล่าวโดยสรุปว่า ในการเรียนรู้ควรที่จะให้เด็กเรียนรู้ไปตามธรรมชาติของเด็ก เด็กก็มีนิสัยเป็นเด็ก ไม่ใช้ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ มีสภาวะที่ต่างจากวัยอื่นๆ ในการเรียนรู้ของเด็กที่ดี ควรใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่เด็กจับต้องได้ ทำให้เด็กมีการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น และควรที่จะยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตนเอง ในการศึกษาก็ควรที่จะพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก และควรที่จะจัดการศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ 3 – 5 ปี ให้เด็กได้เล่น เพราะการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก และในคนเรามีธรรมชาติปนกันอยู่ 3 ลักษณะคือ คนสัตว์ คนสังคม คนธรรม ในการเรียนรู้ก็ควรที่จะเกิดจากธรรมชาติ จากผลการกระทำของเด็กนั้นเองไม่ใช้มาจากในหนังสือ หรือคำพูดจา
เอกสารอ้างอิง
สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น