วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

1.3   ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception) 
(สุรางค์ โคว้ตระกูล ; 2545) กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
                1 มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
                2 จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
                3 วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
                4 ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
                5 แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
                6 แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด ว่า  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  

                กล่าวโดยสรุปว่า การเรียนรู้ เกิดจากการกระตุ้นภายนอกหรือมาจากสิ่งแวดล้อม เกิดการเรียนรู้ที่ผ่านสัมผัสทั้ง 5จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ และความรู้สึกคือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
เอกสารอ้างอิง
                สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา
. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
                http://www.sobkroo.com/detail_room_main3.php?nid=3019 เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น