วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ทิศนา  แขมมณี  (2548 : 50) กล่าวว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี  ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้

http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง

กมลรัตน์  หล้าสุวงษ์ (2523 : 23) กล่าวว่า พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ สาเหตุนั้นมาจากวัตถุหรืออินทรีย์ ซึ่งเรียกสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมาเรียกว่า การตอบสนอง (Response)


กล่าวโดยสรุปว่า  ธรรมชาติของมนุษย์มีลักษณะเป็นกลาง การกระทำต่างๆเกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก และพฤติกรรมนั้นก็สนองต่อสิ่งเร้า จึงทำให้เกิดการเชื่อมโยงสิ่งเร้าและการตอบสนองเข้าด้วยกัน และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็จะทำให้เกิดการตอบสนอง

อ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กมลรัตน์  หล้าสุวงษ์. (2523). จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). กรุงเทพ : ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm  เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น